วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โวหารภาพพจน์

โวหาร  คือ  การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง  เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ  เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี  มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง  ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ  กัน  แล้วแต่ชนิดของ                                                                                                                       
ประเภทของโวหารภาพพจน์                                                                                                
           .  อุปมาโวหาร  (Simile)    อุปมา  คือ  การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า    “ เหมือน ”    เช่น   ดุจ  ดั่ง  ราว  ราวกับ  เปรียบ  ประดุจ  เฉก  เล่ห์  ปาน  ประหนึ่ง  เพียง  เพี้ยง  พ่าง  ปูน  ถนัด  หม้าย   เสมอ  ฯลฯ เช่น   ปัญญาประดุจดังอาวุธ  จมูกเหมือนลูกชมพู่   ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ  เป็นต้น                        ๒.  อุปลักษณ์  ( Metaphor ) อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน  แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง                                                                                                                                                                    อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง   ที่สำคัญอุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา                                                                                                       
    ตัวอย่างเช่น       ขอเป็นเกือกทองรองบาทา    ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย                                                                                            เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์                                                                                             ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ                                         
          ๓.   สัญลักษณ์  ( symbol )   สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ  ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้  เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน                                                                                                                  
    ตัวอย่างเช่น       เมฆหมอก     แทน    อุปสรรค                  สีดำ             แทน    ความตาย ความชั่วร้าย                                               สีขาว            แทน    ความบริสุทธิ์            กุหลาบแดง    แทน    ความรัก                                                                 หงส์             แทน    คนชั้นสูง                  กา               แทน    คนต่ำต้อย                                                             ดอกไม้         แทน    ผู้หญิง                     แสงสว่าง       แทน    สติปัญญา          
           .  บุคลาธิษฐาน   (  Personification )   บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต  บุคคลสมมติ  คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด   ไม่มีวิญญาณ  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้  อิฐ  ปูน   หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์  เช่น ต้นไม้  สัตว์    โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้  แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์  ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต                                       
   ตัวอย่างเช่น                 ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว                 ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า                                                                                      ทุกจุลินทรีย์อะมีบา                          เชิดหน้าได้ดิบได้ดี                             
           ๕. อธิพจน์  ( Hyperbole )  พจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์   ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง   ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน                                                                                                      ตัวอย่างเช่น                 คิดถึงใจจะขาด    ร้อนตับจะแตก    หนาวกระดูกจะหลุด                                                                           การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า      คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก    
           ๖.
 สัทพจน์( Onematoboeia )  สัทพจน์  หมายถึง  ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ  เช่น  เสียงดนตรี   เสียงสัตว์   เสียงคลื่น    เสียงลม   เสียงฝนตก  เสียงน้ำไหล   ฯลฯ   การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
   ตัวอย่างเช่น         ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ     ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ      ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ          
           ๗.  นามนัย ( Metonymy )   นามนัย  คือ  การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆ สัญลักษณ์     แต่ต่างกันตรงที่  นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด  หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด                                                                               ตัวอย่างเช่น        เมืองโอ่ง  คือ จังหวัดราชบุรี          เมืองย่าโม  คือ  จังหวัดนครราชสีมา                                                                ทีมเสือเหลือง  คือ ทีมมาเลเซีย           ทีมกังหันลม  คือ ทีมเนเธอร์แลนด์                                                                  ทีมสิงโตคำราม  คือ อังกฤษ               เก้าอี้  คือ ตำแหน่ง  หน้าที่       
                                                             มือที่สาม  คือ  ผู้ก่อความเดือดร้อน                             
          ๘.  ปรพากย์  ( Paradox )    ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว  อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น          
    ตัวอย่างเช่น       เลวบริสุทธิ์     บาปบริสุทธิ์    สวยเป็นบ้า    สวยอย่างร้ายกาจ           
          ๙.  วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนำมาจับเข้าคู่กัน เช่น กากับหงส์ ดินกับฟ้า    มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น
    ตัวอย่างเช่น       ความมืดแผ่รอบกว้างสว่างหลบ    รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
                                         ชวนกำสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์   วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย       
         ๑๐.  อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คำที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมายลึกซึ้งโดยแท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้  หรือนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน              
      ตัวอย่างเช่น   เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง     เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
                   ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน    ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน                                                                                               
         ๑๑.  อธินามนัย (Metonymy)  คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากล่าวนำ และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง
       ตัวอย่างเช่น   เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม     หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
                                           บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ      เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
(คำว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติแต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย คำหลังหมายถึงประเทศไทย)

          ๑๒.  อุปมานิทัศน์     คือการเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ  ขยาย  หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแนวความคิด  หลักธรรม  หรือความประพฤติที่สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น               
      ตัวอย่างเช่น    นิทานเรื่อง  คนตาบอดคลำช้าง  เป็นอุปมานิทัศน์ชี้ให้เห็นว่า  คนที่มีประสบการณ์  หรือภูมิหลังต่างกันย่อมมีความสามารถในการรับรู้ความเชื่อและทัศนคติต่างกันโคลงโลกนิติบทที่ว่าด้วย  หนูท้ารบราชสีห์   เป็นอุปมานิทัศน์   แสดงให้เห็นว่า  คนโง่หรือคนพาลที่ด้อยทั้งกำลังกายและกำลังปัญญาบังอาจขมขู่ท้าทายผู้มีกำลังเหนือว่าตนทุกด้านแต่ผู้ที่ถูกท้ากลับเห็นว่า  ถ้าตนลดตัวลงไปเกี่ยวข้องด้วยเท่ากับเอาพิมเสนไปแลกเกลือ  จึงหลีกเลี่ยงเสีย  ปล่อยให้คนโง่ซึ่งมีความอหังการนั้นพ่ายแพ้แก่ตนเอง                                                                             
         ๑๓. คำไวพจน์  คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่างๆกัน           
      ตัวอย่างเช่น         กิน -  รับประทาน เขมือบ หม่ำ ฉัน       ดอกบัว -  โกมุท โกมล ปทุม                                  

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำควบกล้ำ

                    ตัวอย่าง คำควบกล้ำ



คำควบกล้ำ
           คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า

พยัญชนะสองตัวเรียงกัน
มี ร ล ว ควบกับตัวหน้า

ร่วมสระผันในหลักภาษา
เสียงที่ออกมาร่วมฟ้าเดียวกัน
           ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี  ร ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
    เช่น      กราบ    สะกดว่า     กร + อา + บ      อ่านว่า       กราบ
                แปรง   สะกดว่า    ปร + แอ + ง        อ่านว่า      แปรง
               กลาง    สะกดว่า     กล + อา + ง      อ่านว่า      กลาง
               ควาย    สะกดว่า     คว + อา + ย        อ่านว่า      ควาย
               แขวน    สะกดว่า    ขว + แอ + น        อ่านว่า      แขวน
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
    เช่น       ตลาด  สะกดว่า      ตล + อา + ด      อ่านว่า     ตะ - หลาด
                 สวาย    สะกดว่า    สว + อา + ย       อ่านว่า      สวาย
                 สว่าง    สะกดว่า     สว + อา + ง+ ่   อ่านว่า      สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มีหนำ
    เช่น       หรอก     สะกดว่า   หร + ออ + ก           อ่านว่า      หรอก
                 หลับ     สะกดว่า    หล + อะ + บ           อ่านว่า      หลับ
                 แหวน    สะกดว่า    หว + แอ+ น            อ่านว่า      แหวน
4. ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีวควบกล้ำ
    เช่น       สวย      สะกดว่า    ส + อัว + ย            อ่านว่า      สวย
                 ควร      สะกดว่า     ค +อัว + ร             อ่านว่า       ควร
ห้ามมี ห นำ ห้ามมีเสียง อะ
มีเสียง ห นำ มีเสียง อะ กั้น
หรือมีเสียง อัว ถ้ามี ว ด้วย
มิใช่ควบกล้ำอย่างที่คุ้นเคย

หลอกหรือสวะตลาดสวรรค์
อย่าไปเรียกมันว่าคำควบเลย
มันอ่านว่า ซวย เสียแล้วหละเหวย
ฟังคำเฉลยที่จะรำพัน
           พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
           คำที่มีรเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กร-   ขร-   คร-   ตร-   ปร-  พร-     เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
            พยัญชนะต้นควบกับ ลได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
           คำที่มีลเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กล-   ขล-   คล-   ปล-  พล-     เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก  เกล็ดปลา ตีกลอง
           พยัญชนะต้นควบกับ วได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
           คำที่มีวเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กว-   ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด
อักษรตัวหน้ามี ก ข ค
หรือมี ป พ ร ล ร่วมกัน
เรื่องคำควบกล้ำแท้กับไม่แท้
ถ้า จ ซ ส ควบ ร ไม้เรียว
ถ้า ท ทหาร ควบ ร ไม้เรียว

มี ร ล ว มาร่วมกันผัน
ส่วน ต ร นั้นรักเดียวใจเดียว
ที่กล่าวมาแน่แน่แท้ไม่มีเสียว
ไม่มีข้องเกี่ยวกับตัว ร เลย
ออก ซ ซีดเซียวไม่เกี่ยว ร เลย
คุณครูสมนึก ธนการ
โรงเรียนวัดนิโครธาราม อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
wnikro@gmail.com



« Back

เรียงความภาษาไทย



เรียงความมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่ คำนำ  เนื้อเรื่อง  สรุป

            ตัวอย่างเรียงความ เรื่อง"แม่"



                แม่แม้จะเป็นแค่คำสั้นๆพยางค์เดี่ยวแต่ความหมายมันยิ่งใหญ่คำว่าแม่มีทั้งความรัก  ความห่วงใย  ความเอาใจใส่  ความอดทน  ซึ่งรวมในคำว่าแม่

                ใครคือคนที่อุ้มท้องเรามา ๙ เดือน  ใครคนนั้นคือ แม่  แม่ทำให้ทำเราเกิดมา  แต่พอเราเกิดมาแม่ก็ยังป้อนข้าว  ป้อนน้ำ  เลี้ยงดูเรายุงไม่ให้กัดมดไม่ให้ตอม  ขนาดเรางอแงตอนกลางคืนแม่ก็ยังอดทนลุกขึ้นมากล่อมป้อนนม  และถ้าเรายังงอแงแม่ก็ยังต้องอดทนเพื่อลูก  เมื่อเราโตขึ้นแม่ก็สอนให้เดิน  สอนให้เราพูด  สอนให้เขียน  แล้วยังส่งเสียเราเรียนหนังสือ  รีดเสื้อ  ซักผ้า  และหาเงินให้เราอีก และถ้าลูกอยากได้อะไร  แม่ก็ทำให้เราอย่างดีที่สุด ที่คิดว่าแม่คนนี้จะทำเพื่อลูกได้  เมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วยแม่คนนี้ที่คอยหายาให้เรากิน  คอยหาหมอส่งโรงพยาบาลดูแลเราไม่ห่างจากเรา  แม้ยามหลับหรือยามตื่น  ห่มผ้าห่มให้เรา  แต่บางคนก็ไม่คิดถึงความเหนื่อยยากของแม่ของแม่ที่ทำเพื่อลูกบ้างเลย

                แม่เป็นทั้งเพื่อน ทั้งพี่ ทั้งเป็นคนที่คอยที่ให้เป็นกำลังใจเมื่อเราท้อใจเจออุปสรรคก็คอยเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆให้กับเรา  แต่การให้ของแม่ที่ดีที่สุดคือ  การที่แม่ให้ความรัก  ความห่วงใย  ความอดทนในการดูแล  การเอาใจใส่  การเข้าใจในตัวเรา

                แต่พอเราทำผิดแม่ก็คอยตักเตือน  สั่งสอนเตือนสติไม่ให้เราไปในทางไม่ดี  ไม่สมควร  และแม่คอยแนะนำชี้ทางสว่างให้กับเราเสมอ  แต่การที่เราว่าแม่เป็นการที่ไม่ดีอย่างยิ่ง  เพราะแม่ทำงานหนักเพื่อเรามาตลอด  เราควรที่จะฟังคำพูด  คำตักเตือนของแม่  และนำไปคิดเราทำอย่างนั้นจริงไหม  ถ้ามันจริงอย่างที่แม่พูดเราก็ควรที่จะฟังแม่คำตักเตือนของแม่  ละขอโทษแม่ในสิ่งที่เราทำผิด  และแม่ก็จะให้อภัยให้เราได้เสมอ

                แต่ถ้ามันไม่จริงเราควรที่จะพูดกับแม่ดีๆไม่ควรที่จะว่าแม่  เพราะถ้าเราพูดดีๆกับแม่ แม่ก็จะรับฟังและเข้าใจในสิ่งเราทำ  การตักเตือนของแม่บางคนคิดว่าแม่ไม่รักเป็นคำว่า  แต่ถ้าเราคิดสักนิดว่าความเป็นจริงการตักเตือนของแม่เป็นเพราะแม่ห่วงเรา เป็นคำสั่งสอน คำตักเตือนให้เราประพฤติปฏิบัติที่ดีไม่ให้เราหลงผิดไปในทางที่ไม่ดี

                การได้เกิดเป็นลูกของแม่เป็นสิ่งที่ประทับใจที่สุด  และการที่แม่ได้ให้ความรัก  ความอบอุ่นให้เรา  ห่วงใย  ดูแลเราตั้งแต่เล็กจนโตการที่แม่คอยทำทุกอย่างให้เรามีความสุขถึงเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ  แต่มันสิ่งที่มีคุณค่ามากสำหรับเด็กคนหนึ่งที่ได้เกิดเป็นลูกแม่  อาจจะไม่มีคุณค่าสำหรับคนอื่นแต่สำหรับหนูคำว่าแม่ยิ่งใหญ่เสมอ มีความสุขมากที่ได้มีแม่อยู่ข้างๆ  การที่เราได้มีแม่คอยทำทุกอย่าง  เราเคยถามตัวเองไหมว่าเราเคยทำดีให้แม่ชื้นบ้างแล้วหรือยัง  ความสุขของลูกคือความสุขของแม่  เมื่อแม่กลับบ้านลองถามแม่ว่าเหนื่อยไหม  กินน้ำมาหรือยัง  ประโยคแค่นี้แม่ก็ดีใจมากแล้ว
               วันเวลาที่ผ่านไปเราไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นเราควรที่จะทำวันนี้เพื่อแม่ให้ดีที่สุด  บอกรักแม่ทุกๆวัน  ไม่ใช่เฉพาะในวันแม่เท่านั้น  เราควรที่จะตอบแทนบุญคุณของแม่เพราะตลอดชีวิต  เราก็ยังตอบแทนบุญคุณที่แม่มีให้เราเกิดมา  ทำให้เรามีความสุข ตลอดชีวิตก็ยังไม่หมด ดังข้อความตอนหนึ่งของบทเพลงต่อไปนี้

          " คิดถึงแม่ขึ้นมา   น้ำตามันก็ไหล

           อยากกลับไป   ซบลงที่ตรงตักแม่

           ในอ้อมกอดรักจริง ที่เที่ยงแท้

           อ้อมกอดแม่สุขเกินใคร"