โวหาร คือ การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของ
ประเภทของโวหารภาพพจน์
๑. อุปมาโวหาร (Simile) อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ เหมือน ” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ถนัด หม้าย เสมอ ฯลฯ เช่น ปัญญาประดุจดังอาวุธ จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ เป็นต้น ๒. อุปลักษณ์ ( Metaphor ) อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญอุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์ ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
๓. สัญลักษณ์ ( symbol ) สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้ เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน
ตัวอย่างเช่น เมฆหมอก แทน อุปสรรค สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย สีขาว แทน ความบริสุทธิ์ กุหลาบแดง แทน ความรัก หงส์ แทน คนชั้นสูง กา แทน คนต่ำต้อย ดอกไม้ แทน ผู้หญิง แสงสว่าง แทน สติปัญญา
๔ . บุคลาธิษฐาน ( Personification ) บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต บุคคลสมมติ คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่างเช่น ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า ทุกจุลินทรีย์อะมีบา เชิดหน้าได้ดิบได้ดี
๕. อธิพจน์ ( Hyperbole ) พจน์ หรือ อธิพจน์ คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น คิดถึงใจจะขาด ร้อนตับจะแตก หนาวกระดูกจะหลุด การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
๖. สัทพจน์( Onematoboeia ) สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
๖. สัทพจน์( Onematoboeia ) สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
๗. นามนัย ( Metonymy ) นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เมืองโอ่ง คือ จังหวัดราชบุรี เมืองย่าโม คือ จังหวัดนครราชสีมา ทีมเสือเหลือง คือ ทีมมาเลเซีย ทีมกังหันลม คือ ทีมเนเธอร์แลนด์ ทีมสิงโตคำราม คือ อังกฤษ เก้าอี้ คือ ตำแหน่ง หน้าที่
มือที่สาม คือ ผู้ก่อความเดือดร้อน
มือที่สาม คือ ผู้ก่อความเดือดร้อน
๘. ปรพากย์ ( Paradox ) ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สวยอย่างร้ายกาจ
ตัวอย่างเช่น เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สวยอย่างร้ายกาจ
๙. วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนำมาจับเข้าคู่กัน เช่น กากับหงส์ ดินกับฟ้า มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างเช่น ความมืดแผ่รอบกว้างสว่างหลบ รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
ชวนกำสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์ วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย
ตัวอย่างเช่น ความมืดแผ่รอบกว้างสว่างหลบ รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
ชวนกำสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์ วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย
๑๐. อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คำที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมายลึกซึ้งโดยแท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้ หรือนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน
ตัวอย่างเช่น เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน
๑๑. อธินามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากล่าวนำ และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
(คำว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติแต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย คำหลังหมายถึงประเทศไทย)
๑๒. อุปมานิทัศน์ คือการเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแนวความคิด หลักธรรม หรือความประพฤติที่สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
(คำว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติแต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย คำหลังหมายถึงประเทศไทย)
๑๒. อุปมานิทัศน์ คือการเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแนวความคิด หลักธรรม หรือความประพฤติที่สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น นิทานเรื่อง คนตาบอดคลำช้าง เป็นอุปมานิทัศน์ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีประสบการณ์ หรือภูมิหลังต่างกันย่อมมีความสามารถในการรับรู้ความเชื่อและทัศนคติต่างกันโคลงโลกนิติบทที่ว่าด้วย หนูท้ารบราชสีห์ เป็นอุปมานิทัศน์ แสดงให้เห็นว่า คนโง่หรือคนพาลที่ด้อยทั้งกำลังกายและกำลังปัญญาบังอาจขมขู่ท้าทายผู้มีกำลังเหนือว่าตนทุกด้านแต่ผู้ที่ถูกท้ากลับเห็นว่า ถ้าตนลดตัวลงไปเกี่ยวข้องด้วยเท่ากับเอาพิมเสนไปแลกเกลือ จึงหลีกเลี่ยงเสีย ปล่อยให้คนโง่ซึ่งมีความอหังการนั้นพ่ายแพ้แก่ตนเอง
๑๓. คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่างๆกัน
ตัวอย่างเช่น กิน - รับประทาน เขมือบ หม่ำ ฉัน ดอกบัว - โกมุท โกมล ปทุม